งานการเมือง ของ สนิท กุลเจริญ

สนิท ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2539 รวม 9 สมัย [4]

พ.ศ. 2544 สนิท ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ ก่อนที่จะไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับ นางสาวเรวดี รัศมิทัต จากพรรคราษฎร

ต่อมา พ.ศ. 2545 สนิท ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสมุทรปราการ แทนนายพากเพียร วิริยะพันธุ์ ที่ถึงแก่อนิจกรรม และวางมือทางการเมืองในที่สุด

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

สนิท กุลเจริญ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 9 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคประชากรไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคประชากรไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคประชากรไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคประชากรไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคประชากรไทย
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคประชากรไทย
  9. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคประชากรไทย

สมาชิกวุฒิสภา

สนิท กุลเจริญ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2545 (เลือกตั้งซ่อม) จังหวัดสมุทรปราการ

ใกล้เคียง

สนิท กุลเจริญ สนิท วรปัญญา สนิท จันทรวงศ์ สนิทชิดเชือด สนิท โกศะรถ ไม่อยากสนิทกับความเหงา บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเรียงตามประเทศหรือดินแดน สิทธิ เศวตศิลา